top of page

คุณสมบัติของผู้เล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว

     1.ความสมบรูณ์ของร่างกายมีกำลังที่จะตีลูกขนไก่ได้ตลอดการแข่งขัน

     2.มีความแม่นยำในการตีลูกให้ถึงมุมทั้งลูกมุมสนามทางด้านหลังลูกหยอดมุมสนามทั้งสองด้าน

     3.มีพลังของจิตใจที่ดีในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในทุกวิถีทาง

     4.ในการตีลูกแต่ละครั้ง ต้องถือหลักเกณฑ์ว่าในการตีลูกข้ามตาข่ายต้องกระทำกับคู่ต่อสู้ดังนี้

     5.ให้คู่ต่อสู้วิ่งได้ไกลที่สุด

     6.ให้ฝ่ายคู่แข่งเสียแรงมากที่สุด 

     7.ให้ตีลูกโต้กลับมาได้ยากที่สุด

 

วิธีการเล่นเดี่ยว

      1.จะต้องประกอบด้วยผู้เล่น 2 คนข้างละ 1 คนสนามต้องกว้าง17 ฟุตยาว44ฟุต (ความสูงของตาข่าย และเสาเป็นไปตามกติกาการเล่น) การส่งลูกเริ่มแรกจะส่งทางสนามด้านขวามือสิ่งที่ผู้เล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยวควรคำนึง มีดังต่อไปนี้

 การยืน ต้องรักษาจุดศูนย์กลางเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรักษาพื้นที่ของสนามได้ทั่วถึงทุกตารางนิ้ว จุดศูนย์กลางของประเภทเดี่ยวอยู่ที่เส้นกลางที่ห่างจากเส้นส่งลูกสั้นมาหลังสนามประมาณ 3 ฟุตเศษ เมื่อผู้เล่นยืนคร่อมเส้นกลางจะทำให้ยืนค่อนไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อรักษาพื้นที่และจะได้ครอบคลุมสนามหน้าตาข่ายได้สมบรูณ์ขึ้น ซึ่งผู้เล่นไม่เพียงแต่จะวิ่งเข้ารับลูกหยอดได้ทันท่วงทีเท่านั้นยังจะต้องสามารถตีลูกในระดับสูงอีกด้วย จึงทำให้มุมการตีกว้างขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ลูกหลอกล่อก็มีมากขึ้นจุดศูนย์กลางจะเป็นฐานทัพของการเล่นเดี่ยว ไม่ว่าผู้เล่นจะพาตัวไปตีลูกยังส่วนใดของสนาม เมื่อตีลูกตอบโต้ข้ามไปแล้ว จะต้องคืนสู่จุดศูนย์กลางในลักษณะเตรียมพร้อมซึ่งจะเป็นการแบ่งช่องว่างในแต่ละส่วนของสนามให้เท่าๆกัน

        2. เป้าหมายในการตี ที่สำคัญๆมีอยู่ 4 มุมในสนาม จะเป็นการทำให้คู่แข่งขันออกจากจุดศูนย์กลาง และเปิดช่องว่างให้เรามากที่สุดเป้าหมายสูงสุดของมุมหลัง ถ้าผู้เล่นสามารถโยนลูกโด่งไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนอกจากจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามถูกดึงไปตีลูกถึงหลังสนามแล้วยังเป็นเป้าหมายที่ปลอด ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมซ้ายที่คู่ต่อสู้ต้องตีด้วยลูกหลังมือ ลูกที่โยนโด่งไปมาด้านหลังนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าคู่ต่อสู้หลักยังดีอยู่ก็ให้โยนลูกให้สูง เพื่อกันถูกคู่ต่อสู้ตะปบลูกถ้าคู่ต่อสู้เสียหลักก็ให้โยนลูกต่ำลงแรงและเร็วกว่าเดิมเพื่อตัดเวลาของลูกให้น้อยลง บังคับให้อีกฝ่ายตีลูกในเวลาจำกัด และไม่สามารถบังคับลูกให้เป็นไปตามวิถีที่ต้องการได้การตีลูกไปสู่เป้าหมายสองมุมหน้า ซึ่งใช้ลูกแตะหยอดหรือหยอดธรรมดา ลูกที่ย้อยข้ามจะต้องมีวิถีโค้งและปักหัวลงเมื่อลูกพ้นตาข่าย ถ้าลูกจะย้อยลงใกล้ตาข่ายก็จะเป็นการดึงให้คู่แข่งขันต้องเข้ามาตีลูกหรืองัดลูกทางด้านหน้าสุดของสนามซึ่งจะทำให้ลูกโด่งทำให้รับลูกสามารถตบลูกนี้ได้ หรือเลือกเล่นลูกอะไรก็ได้ถามถนัด

       3.จุดที่สำคัญ ๆ ในเกมส์ นักเล่นที่ฉลาดจะต้องเป็นผู้รู้เกมส์การเล่นของคู่ต่อสู้อย่างละเอียด โดยศึกษาดูสิ่งเหล่านี้ คือ(1) จุดเด่น ของคู่แข่งขันอย่างละเอียด โดยศึกษาการตีของคู่แข่งขันมาอย่างละเอียดก่อนศึกษาดูว่าคู่แข่งขันถนัดตีลูกใดมีกำลังและความสามารถเท่าใดก่อนที่จะทำการแข่งขันจงนำมาวางแผนก่อนเสมอ(2) จุดบกพร่อง ในการเล่นเกมส์ใดก็ตามการศึกษาดูจุดบกพร่องของคู่ต่อสู้ได้มากเท่าใดยิ่งเป็นการดี เช่น ดูลักษณะความถนัดของการตี การรับและการเคลื่อนไหวพยายามส่งลูกไปยังจุดนั้นให้มาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเกมส์ที่คู่ต่อสู้ถนัดพร้อมทั้งใช้ชั้นเชิงดึงคู่ต่อสู้มาเล่นเกมส์ในเกมส์ของเราการทำเช่นนี้ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้

       4. ส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว การส่งลูกควรส่งลูกโด่งหลังสนามให้มากที่สุดประมาณ 90% ของลูกเดี่ยวทั้งหมดควรส่งลูกโด่งไปยังตำแหน่งต่างๆใกล้เส้นหลังโดยไม่ซ้ำที่กันลูกที่ดีคือลูกโด่งหลังที่ตกใกล้เส้นแบ่งกลางสนาม จะทำให้คู่ต่อสู้มีมุมในการโต้กลับน้อยและเป็นการบีบบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากตำแหน่งกลางสนามอีกประการหนึ่งคือจะทำให้คู่แข่งขันตีโต้กลับมากลางสนามไม่ว่าจะตีลูกใดก็ตามอีกประการที่สำคัญของการส่งลูก เราอย่าให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะส่งลูกอะไร ลักษณะไหนทั้งนี้อาจทำได้โดยการส่งลูกในลักษณะเดียวกันหมด

        5.การตอบโต้ (ลูกโยน) การตีลูกทุกครั้งต้องตีอย่างรวดเร็วและไม่ลังเล โดยตัดสินใจว่าเป้าหมายจะตีนั้นปลอดภัย และได้เปรียบคู่ต่อสู้เสมอในเกมส์เดี่ยว ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ลูกโยนหลัง และการเล่นลูกมุมทั้ง 4 จะเป็นลูกที่ปลอดภัยที่สุด

        6.การตอบโต้ลูกต่ำและลูกหยอด ถ้าการส่งลูกต่ำเรารู้รับจะต้องรีบเคลื่อนตัวเข้าลุกและตีลูกข้างหน้าทันที อย่ารอให้ลูกวิ่งมาหาเราเอง เพื่อรักษาระดับการตีลูกให้สูงและใช้การตีลูกกดให้ต่ำถ้าเราเข้าช้าก็จะต้องเล่นลูกงัดใต้มือ ลูกจะข้ามไปให้อีกฝ่ายกดต่ำกลับมาเป้าหมายที่ปลอดภัยในการโต้ ตอบลูกส่งต่ำคือการแย็บที่เร็วหรืองัดโดยตรงไปสองมุมหลังหรือหยอดทิ้งไว้สองมุมหน้าให้ระวังการเย็บลูกที่คู่ต่อสู้อาจดักไว้ก่อนถ้าเป็นการแย็บให้โยนกลับไปหลังโดยเร็ว

        7.ลูกทแยงสนาม เป็นลูกที่ตีโต้ได้ผลลูกหนึ่งโดยเฉพาะใช้สลับกับการเล่นลูกครึ่งตบครึ่งตัดทแยงสนามจะเป็นการเพิ่มในการรุกโจมตีได้มากขึ้นบางครั้งถ้าเราเห็นคู่แข่งขันออกจากจุดเตรียม พร้อมอย่างผลีผลามก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้เราเล่นลูกย้อนรอยคู่ต่อสู้ได้แต่การตีลูกอย่าตีซ้ำจนฝ่ายตรงข้ามจับทางถูกจะเป็นอันตรายแก่เราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหยอดทแยงนั้น อย่าทำซ้ำ ๆ จนคู่ต่อสู้ รู้ทางเพราะลูกจะถูกตบไปทางมุมหลังการเล่นลูกงัดจากหน้าตาข่ายไปทางหลังสนามจะต้องโด่งและดึงแดนหลังจริง ๆ เพราะถ้าไม่โด่งจริงแล้วจะถูกคู่ต่อสู้ดักตีลูกด้วยลูกตบทแยงไปอีกมุมทำให้เราต้องเพรี่ยงพร้ำเช่นกัน

        8.ลูกตบ ลูกที่จะทำให้คู่ต่อสู้รับยากคือลูกตบที่พุ่งขนานเส้นตั้งเพราะเป็นการตบลูกที่มีวิถีตรงและมีระยะทางวิ่งสั้นลูกตบจะต้องมีวิถีความยาวสั้นไม่เท่ากันคือตบยาวบ้างสั้นบ้างเพื่อทำให้คู่ต่อสู้ลังเลในการตั้งรับจะทำให้ลูกโยนข้ามมาไม่แน่นอนเราก็จะดักขึ้นตีโดยเตรียมหาจังหวะชูไม้แบดมินตันไว้ตบลูกซ้ำสองถ้าคู่ต่อสู้หยอดข้ามมาให้เรา เราจะต้องเคลื่อนเข้าหาลูกโดยเร็ว และตีลูกขณะอยู่สูงสุด อย่าตีลูกตกต่ำหรือตีลูกใต้มือโดยไม่จำเป็นในการเล่นเกมส์เดี่ยวลูกตบมีการเล่นพอ ๆ กันกับประเภทคู่ แต่ลูกที่คู่ต่อสู้โยนข้ามมาไม่ถึงหลัง (เศษสามส่วนสี่) ของสนามถือว่าสั้นผู้เล่นควรใช้ลูกตบเป็นส่วนใหญ่สลับกับลูกแตะหยอดหรือจี้โด่งมุมหลังเป็นครั้งคราว จะทำให้คู่แข่งขันเกิดความกังวลใจช่วยให้เราตีลูกอื่นได้สบายขึ้นแต่ลูกตบนี้ไม่ควรใช้บ่อยถ้าคู่แข่งขันรับได้ก็จะทำให้เราเปลืองแรงโดยใช่เหตุ ควรเล่นลูกอื่นหลอกล่อจนคู่แข่งขันเสียหลักก่อนแล้วจึงค่อยตบการตั้งรับลูกตบให้ยืนค่อนไปทางด้านตาข่ายเล็กน้อยห่างจากเส้นส่งสั้นประ มาณ 3 ฟุต จะทำให้ผู้รับรับลูกในระดับสูงได้เป็นการลดช่องว่างของสนามให้แคบลงการกำหนดจุดตั้งรับดังกล่าวนี้ อาจทำได้ผู้รับยืนยันในตอนแรก เพราะจะต้องคอยรับลูกตบในระยะที่ใกล้กว่าเดิมเมื่อฝึกจนชินแล้วจะพบว่าการรับลูกตบ ณ จุดดังกล่าวจำทำให้ได้เปรียบคู้ต่อสู้เป็นอย่างมาก

 

แบบของการยืนเล่นประเภทคู่

       แบดมินตันเป็นเกมการเล่นประเภทคู่ที่ต้องมีความสัมพันธ์ในคู่ของตัวเองจึงต้องฝึกแบบการยืนแบบการยืนแบดมินตันประเภทคู่นั้นพอจะแยกได้ว่ามี 5 แบบทุกแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ด้วยกันทั้งนั้นแต่ในระหว่างที่ลูกอยู่ในการเล่นนั้นการเปลี่ยนแบบเล่นนั้นเป็นผลเสียมากขึ้นแบบของการเล่นประเภทคู่ทั้ง 5 แบบดังนี้

      1.การยืนแบบเคียงข้างการเล่นคู่แบบนี้ผู้เล่นทั้งสองยืนเคียงข้างกันตลอดเวลาผู้เล่นในสนามด้านขวาต้องตีลูกใด ๆก็ตามที่พุ่งมาในสนามส่วนของตนจากตาข่ายถึงเส้นหลังสุดส่วนผู้เล่นที่ยืนอยู่ทางสนามด้านซ้ายมือก็ทำนองเดียวกันผู้เล่นคู่แบบนี้ต้องทราบด้วยว่าผู้เล่นที่อยู่ทางสนามด้านซ้ายมือนั้นต้องตีลูกขนไก่ซึ่งพุ่งมาตรงกลางเส้นสนามด้วย แต่ผู้เล่นอีกคนหนึ่งเล่นด้วยมือซ้าย ต้องตกลงกันก่อนว่าใครจะเป็นผู้ตีลูกขนไก่ที่พุ่งมาที่เส้นกลางสนามประเภทการยืนแบบนี้สำหรับผู้ที่เริ่มเล่นจะให้ผลดีมาก โดยที่ผู้เริ่มเล่นจะฝึกตีลูกต่างๆได้และการฝึกการวิ่งจากด้านหน้าสนามไปทางด้านหลังสนามแล้วกลับมายังตำแหน่งเตรียมพร้อมกลางสนามอยู่บ่อยๆ ทั้งหน้าที่กันในสนามก็แบ่งกันอย่างชัดเจนว่า คนนี้ตีด้านนั้นของสนาม ส่วนอีกคนตีอีกด้านหนึ่งตามแต่จะตกลงกัน

      2.การยืนแบบหน้า – หลังการเล่นคู่แบบยืนหน้า – หลังนี้ คือ คนหนึ่งยืนอยู่ส่วนหน้าของสนามใกล้ตาข่าย และตีลูกทางส่วนหน้าของสนาม และอีกคนหนึ่งต้องตีลูกส่วนหลังของสนาม การเล่นแบบยืนหน้า – หลังหรือคุมหน้าคุมหลังเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีฝีมือและความแข็ง แกร่งแตกต่างกันมาก จึงเป็นแบบมาตรฐานสำหรับการเล่นแบบคู่ผสมไปเมื่อทำการส่งลูกแล้วคนหนึ่งให้ไปยืนคุมทางด้านหน้าของสนามเมื่อตกเป็นฝ่ายรับลูกจากการส่งลูกให้คนรับลูกเป็นคนคุมหน้าอีกคนคุมหลังโดยจะแบ่งหน้าที่เช่นนี้ตลอดหรือสลับกันก็ได้การเล่นแบบนี้หากเป็นการเล่นแบบคู่ผสมชาย – หญิงแล้วจะให้ผลดีมากโดยใช้หญิงคอยตีด้านหน้าใกล้ตาข่ายตลอดเวลา สำหรับชายให้ยืนคุมหลังตลอด เพราะเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงกว่าผู้เล่นหน้าสนามต้องมีความแม่นยำ รวดเร็ว และเชิงดี และไม่ต้องใช้กำลังมาก แต่การยืนประเภทนี้มีจุดอ่อนอยู่ คือตำแหน่งด้านหน้าหลังของผู้เล่นที่ยืนใกล้ตาข่ายเยื้องมาทางซ้ายมือและขวามือเป็นมุม 45 องศาชิดเส้นของทั้งสองเส้น จะเป็นจุดให้อีกฝ่ายโจมตีได้ง่าย แต่ในการเล่นคู่แล้วลูกโด่งจะเสียเปรียบให้กับอีกฝ่ายได้ง่ายการเล่นกับคู่ที่เล่นการยืนแบบนี้ ให้เล่นด้วยลูกทแยงให้เลยด้านหลังของผู้คนที่ยืนอยู่ใกล้ตาข่าย จะทำให้คนที่ยืนคุมหลังต้องถลำตัวเข้ามาแก้โดยต้องตีลูกโด่งขึ้น แล้วค่อยใช้ลูกตบหรือลูกทแยงไปอีกด้านหนึ่งโดยพยายามให้คนที่คุมหลังของคู่ต่อสู้ต้องวิ่งและเสียหลักอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ฝ่ายเราได้เปรียบและหวังแต้มได้มากกว่า

      3.การยืนแบบเยื้องกันการยืนแบบนี้ เป็นการยืนรวมแบบการเล่นที่ยืนเคียงข้างกับการยืนหน้าหลังโดยแบ่งสนามเล่นตามแนวทแยง ผู้เล่นที่อยู่ทางขวามือต้องตีลูกทางด้านขวาครึ่งหนึ่ง และคุมหน้าตาข่ายทั้งหมดส่วนผู้ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือรับผิดชอบตีลูกที่อยู่ทางซ้ายจากเส้นสั้นถึงเส้นหลัง และคุมด้านหลังสนามทั้งหมดการยืนคู่แบบนี้ปัจจุบันไม่นิยมกันมากนักนอกจากจะใช้ผสมกับแบบอื่นเป็นครั้งคราวจุดเด่นของการยืนแบบนี้นั้น อยู่ที่ว่าผู้เล่นคนหนึ่งสามารถรับลูกที่พุ่งมาทางมุมสนามด้านหลังมือได้ดีจุดอ่อนของการยืนแบบนี้มีอยู่ว่า ในบางครั้งที่ผู้เล่นหน้าโดยเฉพาะลูกที่เลยเส้นสั้นมาทางสนามด้านซ้าย และผู้ต่อสู้โต้กลับมาทางมุมขวาก็จะทำให้ผู้เล่นด้านซ้ายตกอยู่ฐานะลำบากขึ้นมาทันที ทั้งการแบ่งหน้าที่ก็ไม่ชัดเจนเหมือนกับการยืนเล่นคู่แบบอื่นๆ

      4.การยืนแบบวนการยืนแบบวนนี้เป็นการเล่นแบบผสมผสานระหว่างวิธีการยืนทั้งคู่ทั้ง 3 แบบดังที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้นนำมารวมเข้าด้วยกันการยืนแบบคู่วนนี้ผู้เล่นคู่หมุนวนกันไปทั้งสองคนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เมื่อผู้เล่นในสนามด้านขวาต้องเคลื่อนตัวเข้ามาทางตาข่ายผู้เล่นที่ยืนในสนามด้านซ้ายจะเคลื่อนตัวมาทางสนามด้านขวา และต่อมาผู้เล่นที่ยืนอยู่ทางด้านหน้าเคลื่อนตัวเป็นวงกลับไปทางด้านหลัง ผู้ที่อยู่ด้านหลังก็จะกลัวตัวมาทางด้านหน้า การเล่นคู่แบบนี้มีผลดีกว่าตรงที่ว่า ผู้เล่นทั้งสองมีโอกาสตีหน้ามือ มากที่สุดซึ่งเป็นลูกที่ถนัดและหวังแต้มได้มากอย่างไรก็ตามสำหรับผู้เล่นชั้นดีนั้นการเล่นแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่มิใช่น้อยโดยที่ผู้เล่นทางซ้ายมักถูกบีบบังคับให้ต้องเข้ามาใกล้ตาข่ายอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นทางด้านขวาต้องกลับไปคุมด้านหลังสนาม เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีผลทำให้วงกลมหมุนกลับคือหมุนตามนาฬิกา และผู้ต้องตีลูกด้วยหลังมือซึ่งเป็นลูกแก้ จะเป็นการทำลายข้อได้เปรียบที่จะได้ตีลูกทางด้านหน้า ให้มากที่สุดนั้นลงเสีย

      5.การยืนแบบรวมและวนสำหรับผู้เล่นที่ได้ฝึกฝนเล่นแบดมินตันมานานพอสมควร ก็ควรจะฝึกเล่นการยืนแบบรวมนี้การเล่นแบบยืนรวมนี้อาจเรียกอีกอย่างว่าแบบคนละข้างซึ่งให้ผลดีมากสำหรับผู้ตีลูกแบดมินตันได้คล่องทุกประเภทมาแล้วการยืนแบบรวมและวนนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นแบบพิเศษเป็นการรวมข้อดีของการยืนทั้ง 4 แบบ ดังที่กล่าวมาเข้าด้วยกัน เมื่อเป็นฝ่ายส่งลูกผู้เล่นจะยืนแบบคุมหน้าคุมหลังเมื่อคู่ต่อสู้ตีลูกมาก็จะแยกกลับกันคนละซีกสนามเพื่อป้องกันการตกเป็นฝ่ายรับเมื่อๆได้โอกาสบุกก็เปลี่ยนเป็นแบบยืนหน้ายืนหลัง ผุ้ยืนอยู่ทางด้านหน้าคอยตีให้ลูกขนไก่ต่ำกว่าตาข่าย เมื่อคู่ต่อสู้ใช้ลูกโด่งผู้อยู่ด้านหลังจะตบลูกแล้วผู้อยู่ด้านหน้าคอยซ้ำเติมวนกันไปมา การเล่นแบบนี้จัดว่าเหมาะสำหรับผู้เล่นชั้นเยี่ยมที่คู่ขามีกำลังและฝีมือทัดเทียมกันแบบการยืนประเภทคู่ทั้ง 5 แบบนี้สามารถใช้ในการเล่นกับประเภทคู่ทั้งหมดคือชายคู่หญิงคู่และคู่ผสมเหมือนกันหมดทุกอย่างแล้วแต่จะเลือกแบบใดก็ได้

 

วิธีส่งลูกการเล่นประเภทคู่

     นิยมส่งลูกสั้น เพราะใช้แรงเพียงเล็กน้อยให้เฉียดตาข่าย สูงกว่าตาข่ายประมาณ 1 – 8 นิ้วการส่งลุกสั้นนี้จะเป็นการบังคับให้ผู้รับลูกตีกลับมาด้วยลูกสั้นหรือลูกโด่ง ซึ่งทำให้ฝ่ายส่งลูกมีโอกาสที่จะสามารถตีทำคะแนนได้ จุดที่ควรส่งลูกนั้นคือมุมทั้งสองของสนามในการส่งลูกสั้นเมื่อส่งลูกไปแล้วควรวิ่งตามลูกเข้าไปใกล้ตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายตีลูกสั้นกลับมาส่วนคู่ของผู้ส่งลูกจะยืนที่ท้ายสนามเพื่อป้องกันมิให้สนามมีพื้นที่ว่าง

 

การรับลูกในการเล่นประเภทคู่

      การยืนรับลูกควรยืนใกล้เส้นส่งลูกสั้นและพยายามที่จะหาทางตีโต้กลับไปอย่างรวดเร็วทำให้อีกฝ่ายแก้สถานการณ์ยาก การรับลูกในการเล่นประเภทคู่ต้องพยายามที่จะตีลูกกดต่ำลงไว้เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะเป็นฝ่ายรับด้วยลูกดาด ลูกหยอด และตีลูกทแยงและตีลูกข้ามตาข่ายไป

 

 

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/61bad2556/kar-khaengkhan-prapheth-khu
 

bottom of page