top of page

การสร้างสมรรถภาพทางกายในการเล่นแบดมินตัน

 

     สมรรถภาพทางกายคือลักษณะสภาพของร่างกายที่มีความคงทน แข็งแรง อดทน ต่อการปฏิบัติงาน มีความคล่องแคล้วว่องไว ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูง ผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายดีมักเป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีร่างกายสง่าผ่าเผย และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีสมรรถภาพทางร่างกายดีแล้ว สมรรถภาพทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม ก็จะดีไปตามด้วย

 

สมรรถภาพทางร่างกายต้องประกอบไปด้วยลักษณะต่างๆ เช่น

 

การทรงตัว (Balance)

 

     การทรงตัวเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้เล่นแบดมินตันต้องฝึกทรงตัวให้ได้ เพราะการตีลูกแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการทรงตัวด้วย ถ้ามีการทรงตัวดีจะมี โอกาสในการรุกและรับได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ตกเป็นฝ่ายรับได้อย่างฉับพลัน การฝึกเพื่อให้มีการทรงตัวดีหรือมีสมดุลย์ โดยการฝึกสปริงตัวด้วยปลายเท้าอยู่กับที่ติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือการฝึกกระโดดเพื่อตีหรือตบลูก ก็จะช่วยสร้างความสมดุลย์ในการทรงตัวให้กับ ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี

 

ความอ่อนตัว (Flexibility)

 

      การเล่นแบดมินตันต้องอาศัยความอ่อนตัว และการยืดตัวเพื่อช่วยในการตีแต่ละครั้งให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว ให้ร่างกายได้เคลื่อนที่ได้เต็มประสิทธิภาพเต็มที่ทุกครั้งที่ตี นักแบดมินตันที่ดีจะมีร่างกายที่มีความยืดหยุ่นและมีความอ่อนตัวดีมาก สำหรับวิธี ฝึกสร้างบริหารการยืดหยุ่นตัวให้แก่ร่างกายได้แก่ การเหวี่ยงแขนเป็นวงกลม การกระโดดงอเข่า การหมุนเอว การหมุนข้อเท้า การหมุนข้อมือ และเพื่อความยืดหยุ่นของร่างกายที่ดีควรทำเป็นประจำและการฝึกอีกหลายๆอย่าง

 

ความแข็งแรง (Strength)

 

      ความแข็งแรงของร่างกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการทำงานสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน และสามารถออกกำลังกายอย่างหนัก ได้เป็นอย่างดี วิธีฝึกบริหารร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงนั้นต้องใช้วิธีฝึกอย่างหนัก การฝึกซ้ำกันหลายๆครั้ง หรือฝึกอย่างรวดเร็ว ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การฝึกโดยวิธีกระโดดในทุกๆ แบบ การฝึกวิ่งเร็วระยะสั้น การฝึกยกนำหนักด้วยดัมเบล และบาร์เบลล์ การกระโดเชือกเป็นต้น การฝึกเช่นนี้จะทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจะสามารถทนทานต่อการเล่นที่แตกต่างในสภาวะ กดดันแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี และสามารถเล่นได้โดยไม่เมื้อยล้ากล้ามเนื้อนั่นเอง

 

ความทนทาน (Endurance)

 

      ความทนทานคือความสามารถที่จะเล่นแบดมินตัน ต่อเนื่องกันได้เป็นเวลายาวนาน เพราะการเล่นแต่ละครั้งจะต้องเคลื่อนไหวเคลื่อนตัวไปมา เหวี่ยงแขน ขึ้นลงเพื่อตีลูกอยู่เสมอ ถ้ากล้ามเนื้อไม่มีความทนทานที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้ไม่ดีและเมื้อยล้าหมดแรงไปในที่สุด ดังนั้นจึงควรฝึกให้ร่างกาย มีความแข็งแรง ความทนทานที่จะสามารเล่นได้ตลอดเกมส์การแข่งขันการฝึกความทนทานทำได้โดยบริหารกายอย่างเบาๆ แต่พยายามที่จะทำหลายๆ ครั้ง เช่น การหมุนข้อมือ หมุนข้อเท้า หมุนหัวเข่า หมุนเอว การลุกขึ้นยืน การวิ่งระยะไกล เป็นต้น

 

ความเร็ว (Speed)

 

     การเล่นแบดมินตันต้องเคลื่อนไหวร่างกายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเพื่อการตีลูกที่ง่ายได้อย่างรวดเร็ว เพราะจะมีโอกาสที่จะเข้าไปตีลูกในระดับที่สูง จะทำให้เป็นการได้เปรียบบคู่ต่อสู้ และทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ คืออาจเป็นไปได้ที่จากเป็นฝ่ายรับอาจกลายเป็นฝ่ายรุกในทันที การเพิ่มความเร็ว จะสามารถกระทำได้โดยฝึกวิ่งเร็วอยู่กับที่ระยะสั้น 50 เมตร หรือ 100 เมตร และการวิ่งช้าสลับกับวิ่งเร็วเป็นต้น เป็นการฝึกอีกอย่างทีจะทำให้เกิด ความทนทานอีกด้วย

 

ความว่องไว (Agility)

 

    ความว่องไวหมายถึง ความสามารถที่จะเคลื่อนที่เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายในทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นการประสานงาน ของความยืดหยุ่นความว่องไว ผู้เล่นที่มีความว่องไวสูงสามารถเปลี่ยนทิศทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่ด้วย ความเร็วสูง คุณสมบัติข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเล่นแบดมินตัน การฝึกเพื่อเพิ่มความว่องไวนั้นกระทำได้โดยการวิ่งซิกแซก วิ่งถอยหลัง ฝึกสไลด์เท้าไปทางซ้าย ขวา หน้า หลัง ได้อย่างรวดเร็ว

 

กำลัง (Power)

 

     กำลังเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง ที่จะนำนักกีฬาแบดมินตันไปสู่ความสำเร็จในการแข่งขันได้โดยง่าย กำลังเป็นจำนวนของ งานที่กระทำติดต่อกันโดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลาการฝึกยกน้ำหนักจะช่วยเพิ่มพูนกำลังด้วยการเพิ่มพูนความแข็ง แกร่งแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ ถ้าใช้น้ำหนักมาก ควรใช้ความเร็วพอประมาณช้าๆ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดแรงดึงสูง

 

การอบอุ่นร่างกาย(Warm Up)

           

    กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วว่องไวความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ  นักกีฬาแบดมินตันทุกคนต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขันเสมอ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ   ข้อเคลื่อน เคล็ด และอันตรายต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้เสมอตลอดการแข่งขัน การอบอุ่นร่างกายคือ การบริหารร่างกายทุกๆส่วน เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ตลอดจนระบบไหลเวียน ของโลหิตพร้อมที่จะเล่นกีฬาแบดมินตันต่อไป

 

สาเหตุที่นักกีฬาแบดมินตันต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นคือ

 

1.    อบอุ่นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา หน้าท้องให้พร้อมที่จะเล่นแบดมินตันต่อไป

2.    บริหารข้อต่อต่างๆเช่น ข้อต่อหัวไหล่ หัวเข่า ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า ฯลฯ

3.    บริหารให้ระบบการไหลเวียนโลหิต ส่งอาหารให้กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

4.    เตรียมนักแบดมินตันให้พร้อมทางด้านจิตใจเพื่อที่จะได้ทำการแข่งขันต่อไป

5.    ป้องกันตะคริว เหน็บชาที่จะเกิดขึ้นขณะที่กำลังเล่น หรือ แข่งขัน

6.    ป้องกันอุบัติเหตุกล้ามเนื้อฉีกขาด ข้อต่อต่างๆหลุดพลิกแพลงได้

 

 

อ้างอิง : http://pornsuda55012.blogspot.com/

bottom of page